ข่าวสารจาก ISUZU

ดูแลดัมพ์อย่างไรไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ

ดัมพ์รถบรรทุกกึ่งพ่วง 18ล้อ ขัดข้อง ดีดชนสะพานลอยคนข้ามร่วงลงถนนยับ

เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2564 เวลา 22:30 เกิดอุบัติเหตุที่ถนนโรจนะ ฝั่งขาเข้าจังหวัดอยุธยา กม.34 อ.วังน้อย จ.อยุธยา โดย รถบรรทุกกึ่งพ่วง18ล้อ ถูกสะพานลอยคนข้ามร่วงลงมาทับพังเสียหาย แต่ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ โดยสาเหตุเกิดจาก ดัมพ์รถบรรทุกกึ่งพ่วง 18ล้อ ทำงานขัดข้อง โดยดัมพ์ยกตัวขึ้นเอง เมื่อรถวิ่งมาถึงจุดเกิดเหตุ ดัมพ์จึงกระแทกเข้ากับสะพานลอยคนข้าม จนทำให้สะพานถล่มลงมาทับ

หลังเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.วังน้อย ต้องปิดการจราจรเป็นการชั่วคราว และเปิดให้วิ่งสวนในเลนขาออกระหว่างการเคลื่อนย้ายและจัดการสถานที่ ส่วนสะพานลอยคนข้ามอีกด้านหนึ่งไม่ได้พังลงมาแต่ต้องมีเจ้าหน้าที่วิศวกรเข้ามาตรวจสอบความแข็งแรงของโครงสร้างอีกครั้ง

จากกล้องวงจรปิดของทางหลวงพบว่า ดัมพ์รถบรรทุก ได้ยกตัวขึ้นก่อนถึงตัวสะพานลอยประมาณ 120 เมตร ก่อนจะชนเข้ากับสะพานลอยตามข่าว

ดัมพ์รถบรรทุกกึ่งพ่วง 18ล้อ

เราเรียนรู้อะไรบ้างจากเหตุการณ์ ดัมพ์รถบรรทุกกึ่งพ่วง 18ล้อ ขัดข้อง

Truck2Hand ในฐานะที่อยู่ในวงการรถบรรทุก จึงถอดบทเรียนจากข่าวอุบัติเหตุ มาเป็นข้อๆ เพื่อนำมาเป็นข้อควรปฏิบัติหรือระมัดระวัง เพื่อความปลอดภัยต่อตัวผู้ขับและผู้ร่วมทาง ต่อไป

การตรวจสภาพดัมพ์

โดยปกติแล้วก่อนการใช้งานในทุกๆวัน ต้องตรวจเช็คระดับน้ำมันทุกวัน และควรมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำมัน 2 ครั้งต่อปี หรือ ตามที่ผู้ผลิตได้กำหนดไว้

นอกจากนี้ผู้ขับควรตรวจสอบรอบคันรถก่อนใช้งาน เช่น

  • ตรวจสอบขอเกี่ยวหรือจุดล๊อคต่างๆว่าอยู่ในสภาพสมบูรณ์หรือไม่
  • ตรวจสอบสัญญาณไฟและอุปกรณ์ส่องสว่าง
  • ตรวจเช็คระดับน้ำมันไฮดรอลิคให้อยู่ในระดับที่กำหนด
  • ตรวจเช็คลมยาง
  • สตาร์ทเครื่องยนต์ เพื่อตรวจสอบการทำงานของ PTO
  • กรณีรถเปล่าให้ทำการทดสอบการยกขึ้นและลดลงของกระบะดัมพ์
  • เมื่อยกค้างไว้แล้วปิดสวิทช์ แล้วจึงตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำมันในระบบไฮดรอลิค

ข้อปฏิบัติในการขับรถเปล่า

  1. ต้องเช็คให้แน่ใจว่า กระบะดัมพ์ลดลงมาอยู่ในตำแหน่งปกติแล้ว
  2. วาวล์ควบคุมการยกต้องอยู่ตำแหน่งกลางเสมอ
  3. และแน่นอนว่าห้ามวิ่งรถในขณะที่กระบะยกอยู่เด็ดขาด
  4. ปิดฝาท้าย หรือ ฝาข้างแล้วล๊อคให้สนิททุกครั้ง
  5. ห้ามขับรถในขณะที่ PTO ทำงานอยู่
  6. เมื่อขับออกไปแล้ว ต้องเช็คว่า PTO ไม่ได้ทำงานอยู่ด้วย

ประกันภัยรถบรรทุก

จากเหตุการณ์นี้ ซึ่งเกิดขึ้นให้เราเห็นอยู่หลายครั้งเกี่ยวกับการทำงานผิดปกติของกระบะดัมพ์ ซึ่งอาจเป็นเหตุที่คาดไม่ถึงของผู้ขับรถบรรทุกเองด้วย การเลือกซื้อประกันรถบรรทุก จึงเป็นทางที่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมทั้งตัวรถ และ บุคคลที่สาม รวมไปถึงความเสียหายต่อสิ่งปลูกสร้างสาธารณะด้วย

การเลือกซื้อประกันรถบรรทุก โดยปกติควรเลือกซื้อประกันที่คุ้มครองบุคคลที่3 ด้วย เนื่องจากรถบรรทุกเมื่อเกิดอุบัติเหตุใดๆแล้ว มักจะมีบุคคลที่3 เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ ด้วยลักษณะการใช้งานและขนาดของรถบรรทุกเอง อย่างกรณีที่ ดัมพ์รถบรรทุก 18ล้อ ยกชนสะพานลอย ถ้ามีประกันภัยที่คุ้มครองบุคคลที่3 ประกันก็จะช่วยคุ้มครองในส่วนนี้ด้วย

อีกส่วนหนึ่งที่ไม่ควรพลาดคือการทำประกันให้ครบทั้งส่วนของตัวรถ (หัว+แชสซี) และ ส่วนของตัวถังด้วย หลายๆเคสนั้นเจ้าของรถทำประกันไว้เพียงแค่ส่วนหัว แต่ไม่ได้ทำส่วนของตัวถัง เมื่อเกิดอุบัติเหตุใดๆ อาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายซ่อมเอง

ในส่วนของความคุ้มครองบุคคลภายนอกนั้นจะแยกออกจากทุนประกันของตัวรถบรรทุก โดยแยกเป็น ความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรือ อนามัย และ ความเสียหายต่อทรัพย์สิน อย่างไรก็ตามก่อนซื้อประกันภัย ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไข ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง

ตัวอย่างการคุ้มครองของประกันรถบรรทุก

ยกตัวอย่างจากประกันรถบรรทุกเจ้าใหญ่อย่าง นำสินประกันภัย

  1. ประกันชั้น1 มีความคุ้มครองสูงสุด คือ คุ้มครองตัวรถเอาประกันทุกกรณี และคุ้มครองชีวิต/ทรัพย์สิน บุคคลภายนอก เหมาะสำหรับรถที่ยังไม่หมดภาระไฟแนนซ์ หรือ รถที่อายุไม่เกิน 15 ปี
  2. ประกันชั้น2 คุ้มครองตัวรถเอาประกันกรณีสูญหาย ไฟไหม้ และคุ้มครองชีวิต/ทรัพย์สิน บุคคลภายนอก เหมาะสำหรับผู้ประกันที่ต้องการลดค่าใช้จ่าย ค่าเบี้ยประกันภัยลง
  3. ประกันชั้น 3 คุ้มครองเฉพาะชีวิต/ทรัพย์สิน บุคคลภายนอก ซึ่งเป็นการประกันภัยขั้นต่ำที่ผู้ประกอบการทุกคน ต้องทำติดไว้ เพราะรถบรรทุกนั้นมีขนาดใหญ่ ทำให้เมื่อเกิดอุบัติเหตุจะมีความรุนแรงที่มากกว่ารถยนต์ขนาดเล็ก
อุบัติเหตุรถบรรทุก

===============

ที่มา
https://www.matichon.co.th/region/news_2802589

แหล่งข้อมูล
https://www.bangkokinsurance.com/product/motor/voluntary/truckweinsure
https://namsengins.co.th/ประเภทรถบรรทุก

Top